View Categories

บทบาทและหน้าที่บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการสาร

< 1 min read

1. ตรวจสอบการดำเนินงาน

– ปฏิบัติตามกระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

– ปรับปรุงและพัฒนาวารสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพ และรักษามาตรฐานของวารสาร

2. พิจารณาด้านคุณภาพ

– วารสารให้เสร็จตรงตามกำหนดเวลาการตีพิมพ์

– ดำเนินงานวารสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ สอดคล้องของเนื้อหาของวารสาร

– คัดเลือกคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์

– บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

– จดหมายตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะตอบรับเมื่อบทความได้ถูกแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการว่าถูกต้องตามรูปแบบวารสารกำหนด

– ไม่รับตีพิมพ์บทความเพื่อผลประโยชน์ของผู้เขียนหรือวารสารโดยไม่พิจารณาผลการประเมินคุณภาพของบทความจากผู้ประเมิน

3. ตรวจสอบเรื่อง การคัดลอกบทความ (Plagiarism)

– ตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้เขียน ว่าได้มีการคัดลอกจากบุคคลอื่นหรือไม่ หากตรวจสอบพบบทความมีการคัดลอกบทความโดยมิชอบหรือมีการคัดลอกเนื้อหาเกินกว่าเกณฑ์ที่วารสารกำหนด ต้องไม่ตีพิมพ์บทความดังกล่าว

– หากพบว่าบทความเคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว ต้องติดต่อผู้เขียนบทความทันที และไม่รับตีพิมพ์บทความนั้น

– พิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

4. จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ

– ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีส่วนได้เสียกับผู้เขียนบทความ และ/หรือผู้ประเมินบทความ

– ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความหรือผู้ประเมินที่ไม่เกี่ยวข้องแก่บุคคลอื่น ในช่วงระยะเวลาที่ทำการประเมินบทความ

– ไม่นำข้อมูลของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง และไม่ร้องขอให้มีการอ้างอิงผลงาน (Citation)

– ชี้แจงและประกาศเงื่อนไข : หลักเกณฑ์ อัตราค่าธรรมเนียม การตีพิมพ์ที่ชัดเจนให้ผู้เขียน หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจส่งบทความตีพิมพ์ให้รับทราบ